วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556


ปลาฉลามขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาฉลามขาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน:Eukarya
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Chondrichthyes
ชั้นย่อย:Elasmobranchii
อันดับ:Lamniformes
วงศ์:Lamnidae
สกุล:Carcharodon
Smith1838
ชนิด:C. carcharias
ชื่อทวินาม
Carcharodon carcharias
(Linnaeus1758)
ถิ่นที่อยู่อาศัย (สีน้ำเงิน)
ปลาฉลามขาว (อังกฤษGreat white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังเหลืออยู่

ปลาฉลามขาวกับมนุษย์[แก้]

ภาพปลาฉลามขาวใต้น้ำ
เรื่องของปลาฉลามขาวจู่โจมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันมากผ่านทางภาพยนตร์ อย่างเช่นเรื่อง จอร์ (Jaws) ผลงานของสตีเว่น สปิวเบอร์ก (Steven Spielberg) แสดงให้เห็นถึงภาพฉลามที่โหดร้าย กินคน และเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับมนุษย์ ให้ฝังในใจของผู้ชม ซึ่งอันที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เหยื่อของฉลามตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีรายงานยืนยันฉลามจู่โจมมนุษย์เพียง 31 รายในรอบ 200 ปี และเป็นส่วนน้อยที่เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตจะเป็นกรณีที่ฉลามลองกัดดูมากกว่า เพราะอยากรู้อยากเห็น ปลาฉลามขาวยังลองกัดพวกสิ่งของอื่นๆ เช่น ทุ่นลอยน้ำ และของที่มันไม่คุ้นเคยอื่นๆ และบางครั้งก็จะใช้เพียงริมฝีปากกัดโดนนักเล่นเซิร์ฟ เพราะอยากรู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่
ในกรณีอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากความเข้าใจผิด ที่จู่โจมนักเล่นเซิร์ฟจากด้านล่างเพราะเห็นเพียงเงา ดูแล้วคล้ายกับแมวน้ำ หลายกรณีเกิดขึ้นในช่วงที่ทัศนะวิสัย ไม่เอื่ออำนวยกับการมองเห็น และในกรณีที่ประสาทสัมผัสด้านอื่นมีประสิทธิภาพลดลง หรืออาจเป็นเพราะว่า สายพันธุ์ของปลาฉลามขาวไม่ค่อยถูกปากกับรสชาติของมนุษย์ หรือรสชาติไม่ค่อยคุ้นเคย
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎีที่ว่า ทำไมอัตราการจู่โจมมนุษย์ที่ร้ายแรงถึงต่ำ มันไม่ใช่เพราะว่าปลาฉลามขาวไม่ชอบเนื้อมนุษย์ แต่เป็นเพราะมนุษย์สามารถหนีขึ้นจากน้ำได้ หลังจากถูกจู่โจมครั้งแรก ในปี 1980 มีรายงานของ จอห์น แม็คคอสเกอร์ (John McCosker) บันทึกไว้ว่า นักดำน้ำที่ดำเดี่ยวคนหนึ่ง ถูกปลาฉลามขาวจู่โจมจนสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป แต่ยังว่ายน้ำหนีมาจนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ให้ขึ้นมาจากน้ำได้ ก่อนที่จะถูกปลาฉลามขาวเผด็จศึก จึงสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบการจู่โจมของปลาฉลามขาว คือ จู่โจมสร้างบาดแผลสาหัสก่อนในครั้งแรก แล้วรอให้เหยื่อหมดแรงหรือเสียเลือดจนตาย แล้วค่อยเข้าไปกิน แต่มนุษย์สามารถขึ้นจากน้ำได้ (อาจหนีขึ้นเรือ) ด้วยความช่วยเหลือของคนอื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่คุ้นเคยสำหรับเหยื่อของปลาฉลามขาว ทำให้การจู่โจมครั้งนั้นล้มเหลวไป
อีกสันนิษฐานหนึ่งก็คือ มนุษย์ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากพอสำหรับปลาฉลามขาว เพราะว่าปลาฉลามขาวมีระบบการย่อยที่ค่อยข้างช้า และร่างกายของมนุษย์มีกระดูก กล้ามเนื้อและไขมันมากเกินไป ส่วนใหญ่ปลาฉลามขาวจะเป็นฝ่ายหมดความสนใจ มนุษย์ที่ถูกโจมตีครั้งแรกก่อนเอง และเหตุที่มนุษย์สียชีวิต ก็เพราะสูญเสียเลือดมากเกินไปจากการสูญเสียอวัยวะบางส่วน มากกว่าที่จะเป็นการสูญเสียอวัยวะสำคัญ หรือถูกกินทั้งตัว
นักชีววิทยาบางคนให้ความเห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากถูกปลาฉลามขาวจู่โจมในรอบ 100 ปี มีน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกสุนัขกัดเสียอีก แต่ความเห็นนี้ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะว่ามนุษย์มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสุนัขมากกว่าปลาฉลามขาว จึงมีโอกาสมากกว่าเมื่อเทียบกับฉลาม มนุษย์ได้มีความพยายามที่จะประดิษฐ์ชุดป้องกันฉลาม แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการป้องกันปลาฉลามขาว คือ อิเล็กทรอนิค บีคอน (electronic beacon) ซึ่งนักประดาน้ำและนักเล่นเซิร์ฟจะใช้กัน โดยมันจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนสัมผัสพิเศษของปลาฉลามขาว

พฤติกรรมการล่า[แก้]

ภาพปลาฉลามขาวบนผิวน้ำ
ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์กินเนื้อ เหยื่อที่มันเลือกจะล่ามีปลา (รวมทั้งปลากระเบนและฉลามที่ตัวเล็กกว่า) ปลาโลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล เต่าทะเล และเต่าตะหนุ ทั้งยังมีชื่อในเรื่องกินไม่เลือก แม้กระทั่งของที่กินไม่ได้ ปลาฉลามขาวที่ยาวประมาณ 3.4 เมตร จะเลือกเหยื่อที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม ปีเตอร์ คลิมลี (Peter Klimley) ได้ทำการทดสอบโดยใช้เหยื่อเป็นซากแมวน้ำ หมูและแกะ ผลปรากฏว่าฉลามจู่โจมทุกครั้ง แต่กลับปฏิเสธซากเหยื่อที่ทั้ง 3 ชนิดที่ให้พลังงานน้อยกว่า ยังมีข้อถกเถียงว่าระหว่างปลาฉลามขาวกับวาฬเพชฌฆาต ว่าตัวไหนจู่โจมมนุษย์มากกว่ากัน
ปลาฉลามขาวจะใช้สัมผัสพิเศษในการหาตำแหน่งเหยื่อจากระยะไกล และใช้สัมผัสในด้านการดมกลิ่น และการฟังเพื่อยืนยันตำแหน่งอีกที ในระยะประชิดฉลามจะใช้สายตาเป็นหลัก ปลาฉลามขาวมีชื่อเสียงในเรื่องเป็นนักล่าที่โหดร้าย เป็นเครื่องจักรสังหาร และมีเทคนิคในการซุ่มโจมตี โดยจู่โจมเหยื่อจากด้านล่าง จากการศึกษาพฤติกรรมพบว่า ปลาฉลามขาวจะจู่โจมบ่อยครั้งในช่วงตอนเช้า ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามีการพบเห็นปลาฉลามขาวน้อยลง หลังจากผ่านช่วงเวลานั้นไป อัตราความสำเร็จในการล่าช่วงเช้าอยู่ที่ 55% ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก แล้วตกลงเหลือ 40% ในช่วงต่อมา หลังจากพ้นช่วงเช้าไปแล้วก็จะหยุดล่า
เทคนิคการล่าของปลาฉลามขาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของเหยื่อ ในการล่าแมวน้ำปลาฉลามขาวจะจู่โจมแมวน้ำจากด้านล่างด้วยความเร็วสูง เล็งตรงกลางลำตัว ซึ่งความเร็วในการจู่โจมจะสูง จนกระทั่งฉลามกระโจนขึ้นเหนือผิวน้ำได้ และยังจะตามล่าต่อหลังจากที่จู่โจมครั้งแรกพลาดเป้าอีกด้วย สำหรับแมวน้ำบางชนิดปลาฉลามขาวจะใช้วิธีลากลงมาใต้น้ำ จนกระทั่งแมวน้ำหมดแรงดิ้น สำหรับสิงโตทะเลจะใช้วิธีจู่โจมที่ลำตัว แลวค่อยๆ ลากมากิน ทั้งยังมีวิธีกัดส่วนสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว แล้วรอให้เลือดไหลจนตายอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้ใช้จู่โจมแมวน้ำบางชนิด ส่วนในการล่าโลมา ปลาฉลามขาวจะจู่โจมจากด้านบน หรือด้านล่างเพื่อหลบหลีกการตรวจจับด้วยโซนาร์ของโลมา



ถิ่นที่อยู่อาศัย[แก้]

ภาพปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาวอาศัยอยู่ตามแถบทะเลชายฝั่งเกือบทั่วทุกมุมโลก ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 12ํC - 24ํC แต่จะอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณอ่าวประเทศออสเตรเลีย ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แคลิฟอเนีย และตอนกลางของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ที่หนึ่งที่หนาแน่นที่สุดอยู่ที่ ไดร์เออร์ ไอร์แลนด์ (Dyer Island, South Africa) ที่แอฟริกาใต้ ทั้งยังสามารพบได้ในเขตร้อนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ปลาฉลามขาวเป็นปลาน้ำลึก แต่ที่บันทึกจำนวน ส่วนมากจะมาจากการสำรวจแถบทะเลชายฝั่ง บริเวณที่มีสิงโตทะเล แมวน้ำ โลมาอาศัยอยู่ ได้มีความพยายามที่จะสำรวจในบริเวณน้ำลึก ถึงระดับ 1280 เมตร ผลปรากฏว่าจะพบมากบริเวณผิวน้ำมากกว่า

ปลาฉลามขาวตัวเต็มวัย จะมีขนาดประมาณ 4-4.8 เมตร หนักประมาณ 880-1100 กิโลกรัม ตัวเมียมักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ยังเป็นที่สงสัยอยู่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้พยายามรวบรวมข้อมูลเท่าทีมี แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ทุกวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ขนาดตัวปกติของปลาฉลามขาวที่โตเต็มที่ จะอยู่ราวๆ 6 เมตร หนักประมาณ 1900 กิโลกรัม ในช่วง 10 ปีนี้ กินเนสบุ๊ค ออฟ เวิลด์เรคคอร์ด (Guinness Book of World Records) ได้บันทึกปลาฉลามขาวที่ตัวใหญ่ที่สุดไว้ได้ 2 ตัวซึ่งตัวหนึ่งยาว 11 เมตรจับได้ที่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ใกล้กับพอท แฟร์รี่ (Port Fairy) ในปี 1870 และอีกตัวหนึ่ง ยาว 11.3 เมตร ติดอวนชาวประมงที่เมือง New Brunswick ประเทศแคนาดา ในปี 1930
จากข้อมูลนี้เอง จึงนำมาประเมินขนาดมาตรฐานของ ปลาฉลามขาวปกติที่โตเต็มวัย นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ตั้งคำถาม เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการวัทั้งสองครั้งนั้น ซึ่งไม่มีบันทึกใด มีขนาดที่ใกล้เคียงกับ 2 กรณีที่พบนี้เลย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จึงมีข้อสงสัยที่ว่า การบันทึกที่เมือง New Brunswick อาจเป็นการบันทึกที่มีการเข้าใจผิดในสายพันธุ์ ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเป็นปลาฉลามสายพันธุ์อื่น (Basking shark) มากกว่า และทั้งสองตัวที่ถูกบันทึกก่อนหน้านี้ ก็มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน ข้อสงสัยนี้ด้รับการพิสูจน์โดย เจ.อี. โรนัลด์ (J.E. Reynolds) การประเมินขนาดด้วยกราม ซึ่งหลักฐานที่เหลือจากค้นพบครั้งนั้นคือ กระดูกกรามที่เก็บรักษาไว้ ซึ่งผลการประเมินคาดว่าขนาดของฉลามที่พบใน พอท เฟอร์รี่ น่าจะยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งสันนิษฐานว่าจะมีการบันทึกขนาดผิดพลาด ในบันทึกต้นฉบับ


ปลาฉลามขาวมีความสามารถคล้ายกับปลาฉลามสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ที่สามารถตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากปลาที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวน้ำ จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา และปลาฉลามขาวมีสัมผัสไวเป็นพิเศษ ที่สามารถตรวจจับได้แม้มีความแรงเพียง 1/1000,000,000 โวลท์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสามารถตรวจจับแสงแฟลชได้ในระยะ 1600 กิโลเมตร ปลาชนิดอื่นๆ ส่วนมากไม่มีพัฒนาการถึงระดับนี้ แต่มีความสามารถที่คล้ายๆ กันนี้ ที่ลายด้านข้างลำตัว

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556


       
ภาพปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาวอาศัยอยู่ตามแถบทะเลชายฝั่งเกือบทั่วทุกมุมโลก ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 12ํC - 24ํC แต่จะอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณอ่าวประเทศออสเตรเลีย ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แคลิฟอเนีย และตอนกลางของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ที่หนึ่งที่หนาแน่นที่สุดอยู่ที่ ไดร์เออร์ ไอร์แลนด์ (Dyer Island, South Africa) ที่แอฟริกาใต้ ทั้งยังสามารพบได้ในเขตร้อนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ปลาฉลามขาวเป็นปลาน้ำลึก แต่ที่บันทึกจำนวน ส่วนมากจะมาจากการสำรวจแถบทะเลชายฝั่ง บริเวณที่มีสิงโตทะเล แมวน้ำ โลมาอาศัยอยู่ ได้มีความพยายามที่จะสำรวจในบริเวณน้ำลึก ถึงระดับ 1280 เมตร ผลปรากฏว่าจะพบมากบริเวณผิวน้ำมากกว่า

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาวมีความสามารถคล้ายกับปลาฉลามสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ที่สามารถตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากปลาที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวน้ำ จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา และปลาฉลามขาวมีสัมผัสไวเป็นพิเศษ ที่สามารถตรวจจับได้แม้มีความแรงเพียง 1/1000,000,000 โวลท์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสามารถตรวจจับแสงแฟลชได้ในระยะ 1600 กิโลเมตร ปลาชนิดอื่นๆ ส่วนมากไม่มีพัฒนาการถึงระดับนี้ แต่มีความสามารถที่คล้ายๆ กันนี้ ที่ลายด้านข้างลำตัว