วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556


ปลาฉลามขาวกับมนุษย์[แก้]

ภาพปลาฉลามขาวใต้น้ำ
เรื่องของปลาฉลามขาวจู่โจมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันมากผ่านทางภาพยนตร์ อย่างเช่นเรื่อง จอร์ (Jaws) ผลงานของสตีเว่น สปิวเบอร์ก (Steven Spielberg) แสดงให้เห็นถึงภาพฉลามที่โหดร้าย กินคน และเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับมนุษย์ ให้ฝังในใจของผู้ชม ซึ่งอันที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เหยื่อของฉลามตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีรายงานยืนยันฉลามจู่โจมมนุษย์เพียง 31 รายในรอบ 200 ปี และเป็นส่วนน้อยที่เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตจะเป็นกรณีที่ฉลามลองกัดดูมากกว่า เพราะอยากรู้อยากเห็น ปลาฉลามขาวยังลองกัดพวกสิ่งของอื่นๆ เช่น ทุ่นลอยน้ำ และของที่มันไม่คุ้นเคยอื่นๆ และบางครั้งก็จะใช้เพียงริมฝีปากกัดโดนนักเล่นเซิร์ฟ เพราะอยากรู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่
ในกรณีอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากความเข้าใจผิด ที่จู่โจมนักเล่นเซิร์ฟจากด้านล่างเพราะเห็นเพียงเงา ดูแล้วคล้ายกับแมวน้ำ หลายกรณีเกิดขึ้นในช่วงที่ทัศนะวิสัย ไม่เอื่ออำนวยกับการมองเห็น และในกรณีที่ประสาทสัมผัสด้านอื่นมีประสิทธิภาพลดลง หรืออาจเป็นเพราะว่า สายพันธุ์ของปลาฉลามขาวไม่ค่อยถูกปากกับรสชาติของมนุษย์ หรือรสชาติไม่ค่อยคุ้นเคย
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎีที่ว่า ทำไมอัตราการจู่โจมมนุษย์ที่ร้ายแรงถึงต่ำ มันไม่ใช่เพราะว่าปลาฉลามขาวไม่ชอบเนื้อมนุษย์ แต่เป็นเพราะมนุษย์สามารถหนีขึ้นจากน้ำได้ หลังจากถูกจู่โจมครั้งแรก ในปี 1980 มีรายงานของ จอห์น แม็คคอสเกอร์ (John McCosker) บันทึกไว้ว่า นักดำน้ำที่ดำเดี่ยวคนหนึ่ง ถูกปลาฉลามขาวจู่โจมจนสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป แต่ยังว่ายน้ำหนีมาจนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ให้ขึ้นมาจากน้ำได้ ก่อนที่จะถูกปลาฉลามขาวเผด็จศึก จึงสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบการจู่โจมของปลาฉลามขาว คือ จู่โจมสร้างบาดแผลสาหัสก่อนในครั้งแรก แล้วรอให้เหยื่อหมดแรงหรือเสียเลือดจนตาย แล้วค่อยเข้าไปกิน แต่มนุษย์สามารถขึ้นจากน้ำได้ (อาจหนีขึ้นเรือ) ด้วยความช่วยเหลือของคนอื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่คุ้นเคยสำหรับเหยื่อของปลาฉลามขาว ทำให้การจู่โจมครั้งนั้นล้มเหลวไป
อีกสันนิษฐานหนึ่งก็คือ มนุษย์ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากพอสำหรับปลาฉลามขาว เพราะว่าปลาฉลามขาวมีระบบการย่อยที่ค่อยข้างช้า และร่างกายของมนุษย์มีกระดูก กล้ามเนื้อและไขมันมากเกินไป ส่วนใหญ่ปลาฉลามขาวจะเป็นฝ่ายหมดความสนใจ มนุษย์ที่ถูกโจมตีครั้งแรกก่อนเอง และเหตุที่มนุษย์สียชีวิต ก็เพราะสูญเสียเลือดมากเกินไปจากการสูญเสียอวัยวะบางส่วน มากกว่าที่จะเป็นการสูญเสียอวัยวะสำคัญ หรือถูกกินทั้งตัว
นักชีววิทยาบางคนให้ความเห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากถูกปลาฉลามขาวจู่โจมในรอบ 100 ปี มีน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกสุนัขกัดเสียอีก แต่ความเห็นนี้ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะว่ามนุษย์มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสุนัขมากกว่าปลาฉลามขาว จึงมีโอกาสมากกว่าเมื่อเทียบกับฉลาม มนุษย์ได้มีความพยายามที่จะประดิษฐ์ชุดป้องกันฉลาม แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการป้องกันปลาฉลามขาว คือ อิเล็กทรอนิค บีคอน (electronic beacon) ซึ่งนักประดาน้ำและนักเล่นเซิร์ฟจะใช้กัน โดยมันจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนสัมผัสพิเศษของปลาฉลามขาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น