วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556


พฤติกรรมการล่า[แก้]

ภาพปลาฉลามขาวบนผิวน้ำ
ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์กินเนื้อ เหยื่อที่มันเลือกจะล่ามีปลา (รวมทั้งปลากระเบนและฉลามที่ตัวเล็กกว่า) ปลาโลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล เต่าทะเล และเต่าตะหนุ ทั้งยังมีชื่อในเรื่องกินไม่เลือก แม้กระทั่งของที่กินไม่ได้ ปลาฉลามขาวที่ยาวประมาณ 3.4 เมตร จะเลือกเหยื่อที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม ปีเตอร์ คลิมลี (Peter Klimley) ได้ทำการทดสอบโดยใช้เหยื่อเป็นซากแมวน้ำ หมูและแกะ ผลปรากฏว่าฉลามจู่โจมทุกครั้ง แต่กลับปฏิเสธซากเหยื่อที่ทั้ง 3 ชนิดที่ให้พลังงานน้อยกว่า ยังมีข้อถกเถียงว่าระหว่างปลาฉลามขาวกับวาฬเพชฌฆาต ว่าตัวไหนจู่โจมมนุษย์มากกว่ากัน
ปลาฉลามขาวจะใช้สัมผัสพิเศษในการหาตำแหน่งเหยื่อจากระยะไกล และใช้สัมผัสในด้านการดมกลิ่น และการฟังเพื่อยืนยันตำแหน่งอีกที ในระยะประชิดฉลามจะใช้สายตาเป็นหลัก ปลาฉลามขาวมีชื่อเสียงในเรื่องเป็นนักล่าที่โหดร้าย เป็นเครื่องจักรสังหาร และมีเทคนิคในการซุ่มโจมตี โดยจู่โจมเหยื่อจากด้านล่าง จากการศึกษาพฤติกรรมพบว่า ปลาฉลามขาวจะจู่โจมบ่อยครั้งในช่วงตอนเช้า ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามีการพบเห็นปลาฉลามขาวน้อยลง หลังจากผ่านช่วงเวลานั้นไป อัตราความสำเร็จในการล่าช่วงเช้าอยู่ที่ 55% ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก แล้วตกลงเหลือ 40% ในช่วงต่อมา หลังจากพ้นช่วงเช้าไปแล้วก็จะหยุดล่า
เทคนิคการล่าของปลาฉลามขาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของเหยื่อ ในการล่าแมวน้ำปลาฉลามขาวจะจู่โจมแมวน้ำจากด้านล่างด้วยความเร็วสูง เล็งตรงกลางลำตัว ซึ่งความเร็วในการจู่โจมจะสูง จนกระทั่งฉลามกระโจนขึ้นเหนือผิวน้ำได้ และยังจะตามล่าต่อหลังจากที่จู่โจมครั้งแรกพลาดเป้าอีกด้วย สำหรับแมวน้ำบางชนิดปลาฉลามขาวจะใช้วิธีลากลงมาใต้น้ำ จนกระทั่งแมวน้ำหมดแรงดิ้น สำหรับสิงโตทะเลจะใช้วิธีจู่โจมที่ลำตัว แลวค่อยๆ ลากมากิน ทั้งยังมีวิธีกัดส่วนสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว แล้วรอให้เลือดไหลจนตายอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้ใช้จู่โจมแมวน้ำบางชนิด ส่วนในการล่าโลมา ปลาฉลามขาวจะจู่โจมจากด้านบน หรือด้านล่างเพื่อหลบหลีกการตรวจจับด้วยโซนาร์ของโลมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น